ภูมิศาสตร์ ของ ตำบลบางแก้ว (อำเภอบ้านแหลม)

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลบางแก้วอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแหลมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24.760 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,475 ไร่[4] มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงวนตามเข็มนาฬิกา ดังนี้[5]

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

พื้นที่เป็นที่ราบมีความลาดเทเล็กน้อยไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความลาดเททางทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกและเป็นพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลนด้านทิศตะวันออกสามารถใช้ประโยชน์กิจการด้านป่าไม้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และนาเกลือ ส่วนอากาศจะคล้ายคลึงกับตำบลอื่น ๆ ของอำเภอบ้านแหลม คือ มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด และฤดูฝนมีฝนตกค่อนข้างชุกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล

ชายฝั่งทะเล

ลักษณะชายฝั่งทะเลเป็นทะเลโคลน อันเนื่องจากในน้ำมีปริมาณตะกอนแม่น้ำสูงมาก จากการไหลของน้ำจืดออกจากปากแม่น้ำชายฝั่งตั่งแต่ชลบุรีจนถึงเพชรบุรี มีปากแม่น้ำอยู่หลายสาย เช่น แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี จนทำให้ตะกอนในทะเลแถบนี้มีจำนวนสูงสงผลให้ชายฝั่งปากแม่น้ำตั่งแต่จังหวัดฉะเชิงเทรามาถึงแหลมหลวงของจังหวัดเพชรบุรีนั้นเป็นหาดโคลน เกิดเป็นระบบนิเวศป่าชายเลน

ป่าชายเลน

แนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตำบลบางแก้วการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ในเขตตำบลบางแก้วนั้นไม่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ได้มีการพังทลายของดินชายฝั่งค่อนข้างสูง จะมีเพียงปรากฏตามชายฝั่งหลังเขื่อนหินที่กั้นแรงการกัดเซาะชายฝั่ง ป่าชายเลนของตำบลบางแก้วนั้นส่วนใหญ่ถูกทำลายไปก่อนหน้านี้ อันเนื่องจากการเข้าไปตัดไม้ในการเผาถ่านเป็นหลัก การตัดไม้ป่าชายเลนในอดีตส่งผลให้ชายหาดบางแก้วขาดความสมดุลทางระบบนิเวศป่าชายเลนไป อีกทั้งแนวปราการที่จะป้องกันการกัดเซาะพลังทลายของชายฝั่งทะเลก็เสียหายไปด้วย โดยการขุดกระซ้า (เปลือกหอยป่นละเอียดจากธรรมชาติ) ไปขายหรือนำไปเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นการรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันก่อให้เกิดผลเสียหายนานัปการ จนในที่สุดหมู่บ้าน ในตำบลบางแก้วได้ถูกกัดเซาะหายกลายเป็นทะเล ด้วยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่มีความรุนแรงทวีมากขึ้นในยามที่มีคลื่นใหญ่ จึงได้มีการเข้าไปศึกษาปัญหาและการแก้ไขโดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งเอเชีย ทำการศึกษาชายฝั่งทะเล ณ ตำบลบางแก้ว ในปี พ.ศ. 2532 ทั้งนี้ได้ทำเขื่อนเป็นกองหิน จำนวน 14 กอง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว การกัดเซาะได้เพียงแค่ชลอความรุนแรงเท่านั้น จึงได้มีการวางแนวปราการเป็นเขื่อนหินเป็นแนวยาวตามชายฝั่งของตำบลบางแก้วที่มีการกัดเซาะรุนแรง

ปัญหาของตำบล

พื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในอดีตเป็นท้องที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง มีสภาพเป็นทะเล ซึ่งต่อมาแผ่นดินได้มีการยกตัวสูงขึ้น มีสภาพเป็นป่าชายเลนด้านทิศตะวันออกของตำบล ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้มีการเข้ามาใช้พื้นที่บุกป่าถางพงออกเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทำนาเกลือ และบ่อขังน้ำเพื่อใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเล

กาลเวลาผ่านไป ประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศจากเกษตรแบบพึ่งพาอาศัยเกื้อกูล มาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ทำให้กระซ้า (เปลือกหอย) ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ชาวบ้านที่อาศัยใกล้เคียงชายทะเลอ่าวบางแก้วจึงได้ลักลอบเข้าขุดกระซ้าบรรจุถุงจำหน่าย และปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนได้มีความรุนแรงขึ้นจนไม่มีสภาพความเป็นป่าชายเลน เกิดปัญหาการกัดเซาะชายทะเลอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนของประชาชน วัดวาอาราม ต้องรื้อย้ายเข้ามาในแผ่นดินมากขึ้น อันเนื่องจากไม่มีปราการธรรมชาติในการป้องกันแรงกระแทรกของคลื่นลมที่พัดเข้าชายฝั่งในฤดูกาลที่คลื่นลมแรง ประกอบกับการสร้างเขื่อนทำให้มีการขังน้ำไว้ในเขื่อน ตะกอนที่แขวนลอยในน้ำจึงตกตะกอนในเขื่อน ตะกอนที่จะลอยตามน้ำออกปากอ่าวแล้วมาเติมให้กับชายฝั่งจึงลดลง

ทางด้านชายฝั่งทะเลอ่าวบางแก้ว (อ่าวไทย) ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมากที่สุด มีการกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้หมู่บ้าน ศาลากลางบ้านบางแก้ว วัดโคมนารามต้องดำเนินการย้ายสิ่งก่อสร้างขยับเข้ามาในผืนดินให้มากขึ้น จนกระทั่งได้มีศึกษาผลกระทบจากปัณหาดังกล่าวเพื่อแก้ไขอย่างเร่งด่วน และได้ทำการสร้างเขื่อนหินโดยสร้างจากชายฝั่งเป็นจำนวน 14 กอง เพื่อช่วยในการลดความแรงที่จะเข้ามาปะทะชายฝั่งของคลื่นลมที่จะปะทะกับชายฝั่งได้ หลังจากสร้างเขื่อนแล้วปัญหาการกัดเซาะได้ลดความรุนแรงของการพังทลายของชายฝั่งลง

ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ

  • แหล่งน้ำ
    • คลองบางแก้ว จากคลองสี่ร้อย ลากผ่านแบ่งเขตหมู่ 6 กับหมู่ 2 แบ่งเขตหมู่ 8 กับ หมู่ 2 ผ่านหมู่ 1 และ หมู่ 4 ออกทะเลสู่อ่าวกรุงเทพ หรือ อ่าวตัว ก (Briht of Bangkok)
    • คลองเหมืองกลาง จากคลองบางแก้ว(โรงเรียนบ้านเหมืองกลาง เดิม)แบ่งเขตหมู่ 6 กับ หมู่ 8 จนถึงปลายคลองชลประทานหัวรถเหมืองกลาง แบ่งเขตหมู่ 6 กับ หมู่ 5 จนถึงสี่แยกคลองตีคุ (วัดราษฎร์ศรัทธา)
    • คลองเจ็กสี จุดเริ่มต้นจากแม่น้ำเพชรบุรีแต่จะลากผ่านตำบลท่าราบ ตำบลช่องสะแก ตำบลนาวุ้ง ตำบลโพพระ หลังจากนั้นจึงเข้าสู่พื้นที่ตำบลบางแก้ว ที่หมู่ 2 หมู่ 4 ออกสู่อ่าวกรุงเทพ (Bight of Bangkok)
    • คลองร่องน้อย
    • คลองร่องใหญ่
    • คลองหนองแห้ว
    • คลองสี่ร้อย แบ่งเขต หมู่ 6 กับ ตำบลโพพระ
    • คลองนกทุง (คลองนกกระทุง) แบ่งเขตหมู่ 6 ตำบลบางแก้ว กับ หมู่ 10 ตำบลช่องสะแก
    • คลองพี่เลี้ยง หรือ คลองชลประทาน ดี 25 แบ่งเขตหมู่ 6 ตำบลบางแก้ว กับ หมู่ 10 ตำบลช่องสะแก
    • คลองใหญ่ หรือ คลองชลประทาน ดี 25 แบ่งเขตหมู่ 6 ตำบลบางแก้ว กับ หมู่ 2 ตำบลบางจาน และ หมู่ 5 ตำบลบางแก้ว กับ ตำบลบางจาน
    • คลองแหลม แบ่งเขตหมู่ 5 ตำบลบางแก้ว กับ ตำบลปากทะเล ออกสู่อ่าวไทย (อ่าวกรุงเทพ)
    • คลองนาแค
    • คลองนาบัว
  • ทะเล มีสภาพเป็นทะเลโคลนเนื่องจากสภาพอ่าวกรุงเทพมีลักษณะกว้างยาวด้านละประมาณ 100 กิโลเมตร ทำให้ตะกอนจากแม่น้ำสายต่างที่พัดพาตะกอนสู่ทะเลส่งผลให้ทะเลในพื้นที่ตำบลบางแก้วเป็นทะเลโคลน อันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดิน เช่น เคย กุ้ง กั้ง ปู ปลา หมึก แมงดา แพลงตอน อาทีเมีย และหอย เป็นต้น
  • ป่าชายเลน ปัจจุบันถูกบุกรุกจนไม่เหลือสภาพความเป็น และเป็นที่อยู่อาศัย พืชาป่าชายเลนที่มีปัจจุบันจึงมีการขึ้นเป็นหย่อม พืชป่าชายเลนที่พบในพื้นที่ ได้แก่ ต้นสะแม โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ชะคราม ผักบุ้งทะเล ผักเบี้ย เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตำบลบางแก้ว (อำเภอบ้านแหลม) http://maps.google.com/?ie=UTF8&t=p&om=1&ll=13.109... http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0... http://www.tambol.com/tambol/search_show.asp?itemn... http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=76... http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=76... http://gold.rajabhat.edu/rLocal/stories.php?story=... http://bangkaew.phetburi1.net/ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.bangkaewphet.go.th/ http://www.survey.doae.go.th